วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553


'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร'

โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมากมักจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะเพียงรัฐบาล แต่หากรัฐบาลใหม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองโดยสิ้นเชิงถือเป็นการ 'ปฏิวัติ' และหากการยึดอำนาจครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'รัฐประหาร' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ'เมื่อสืบย้อนไปยังหน้าประวัติศาสตร์เก่าๆ ของการเมืองไทย จะพบว่ามีการกระทำที่เข้าข่ายในลักษณะการปฏิวัติรัฐประหารมาตั้งแต่ก่อนสมัยที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียอีกเหตุการณ์กบฏ ร.ศ.130 ในปี พ.ศ.2454 สมัยรัชกาลที่ 6 เสวยราชย์ได้เป็นปีที่ 2 มีคณะนายทหารที่เรียกว่า ‘คณะ 130’ (ตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 130) ร่วมกันคิดการอันเป็นภัยต่อราชวงศ์ โดยซ่องสุมและคบคิดกันที่บริเวณย่านแพร่งสรรพศาสตร์ ซึ่งต่อมานายทหารกลุ่มนี้ก็ถูกจับกุมได้เสียก่อนลงมือกระทำการ คณะ 130 ถูกพิพากษาโทษลดหลั่นกันไป แต่ภายหลังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น